วันพฤหัสบดีที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2553

ทฤษฎีที่เป็นไปได้ ที่ทำให้ไดโนเสาร์สูญพันธุ์


1. ทฤษฎีอุกกาบาตพุ่งชนโลก ทฤษฎีนี้เป็นทฤษฎีที่มีการอ้างอิงและพูดถึงกันมากทฤษฎีหนึ่ง เมื่อย้อนกลับไปศึกษาถึงช่วงเวลาที่ไดโนเสาร์มีชีวิตอยู่นั้น เราพบว่ามันปรากฏกายอยู่ในหน้าประวัติศาสตร์จนถึงยุคเครตาเชอุสตอนปลาย หลังจากนั้นก็ไร้ร่องรอยไปเฉย ๆ นักวิทยาศาสตร์กลุ่มหนึ่งได้สันนิษฐานข้อมูลเอาไว้ว่า เป็นไปได้หรือไม่ว่าใน ยุคเครตาเชอุสตอนปลายนั้น อาจมีลูกอุกาบาตที่มีความกว้างถึง 3 เมตร จำนวนมากพุ่งเข้ามาชนโลกของเรา ความรุนแรงที่เกิดขึ้น ส่งผลให้เกิดหมอกควันหนาทึบบดบังแสงอาทิตย์ที่ส่องให้ความอบอุ่นแก่โลกเป็นเวลานาน สัตว์เลือดเย็นอย่างไดโนเสาร์ไม่สามารถที่จะปรับอุณหภูมิของตนเองให้อบอุ่นได้เหมือนสัตว์เลือดอุ่น จึงพากันล้มตายและเสียชีวิตเป็นจำนวนมาก

2. ทฤษฎีเรือนกระจก
กลไกที่ทำให้เกิดการเสียชีวิตจากผลกระทบของภาวะเรือนกระจก บุคคลแรกที่นำทฤษฎีการระเบิดของภูเขาไฟและผลกระทบจาก กรีนเฮาส์ (Volcano-greenhouse) มาอธิบายถึงการสูญพันธุ์ของไดโนเสาร์ คือ นายแม็คลีน (McLean) เขาได้ตีพิมพ์บทความที่อธิบายถึงปรากฎการณ์ดังกล่าวในวารสารทางวิทยา ศาสตร์ในหัวข้อ "ทฤษฎีเรือนกระจกจุดจบของยุคเมโสโศอิค : บทเรียนจากอดีต" (A terminal Mesozoic 'greenhouse' : lessons from the past) บทความดังกล่าว ถูกตีพิมพ์ขึ้นครั้งแรกในปี พ.ศ.2521 โดย แม็คลีน ได้อธิบายสิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้นด้วยการ อ้างอิงถึงการระเบิดของภูเขาไฟ (Deccan Traps) เมื่อ 65 ล้านปีก่อน ทำให้ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ถูกปลดปล่อยเข้าสู่ขึ้นบรรยากาศเป็นจำนวนมาก อุณหภูมิของโลกจึง สูงขึ้นอย่างรวดเร็วและกินเวลายาวนาน ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของสิ่งมีชีวิต

3. ทฤษฎีการขาดอากาศ
นักวิทยาศาสตร์กลุ่มหนึ่งได้ตั้งข้อเสนอไว้อย่างสนใจว่า ไดโนเสาร์อาจจะสูญพันธุ์ จากโลกนี้ เพราะการที่ปริมาณของออกซิเจนบนโลกใบนี้ลดน้อยลงไปอย่างรวดเร็ว ศาสตราจารย์ เคท ริคบี้ (Keith Rigby) ได้นำเสนอทฤษฎีข้อสันนิษฐาน เพเล (Pele hypothesis) ริคบี้ เชื่อว่า การที่ปริมาณออกซิเจนลดลงอย่างรวดเร็วนั้นเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นร่วมกับการที่อุณหภูมิของโลกเกิดการเปลี่ยนแปลง ส่งผลให้ไดโนเสาร์จำนวนมากเสียชีวิตอย่างรวดเร็ว เหตุผลที่ทำให้นักวิทยาศาสตร์กลุ่มนี้เชื่อว่า ไดโนเสาร์เสียชีวิตจากการขาดอากาศ หายใจนั้นเกิดขึ้นเพราะพวกเขามองว่า ในช่วงที่เหลือกโลกของเราเกิดการเปลี่ยนแปลงนั้น ในระหว่างที่มีการยกตัวของเปลือกโลกบางส่วนขึ้นมาจากพื้นน้ำใต้ท้องทะเลกลายมาเป็นทวีป ต่าง ๆ นั้นจะส่งผลให้เกิดการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกมาเป็นจำนวนมาก ซึ่งก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เหล่านี้จะถูกพืชนำไปใช้ในการสังเคราะห์อาหาร และปลดปล่อยก๊าซ ออกซิเจนออกมาเป็นจำนวนมาก บรรยากาศของโลกในยุคนั้นจึงเต็มไปด้วยอากาศบริสุทธิ์ เหมาะสำหรับการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิตเป็นอย่างยิ่ง ดังนั้น เมื่อปริมาณออกซิเจนที่เคยมีมากมายมหาศาลเกิดการลดปริมาณลงอย่างรวดเร็วทำให้ไดโนเสาร์ปรับตัวไม่ทันจึงค่อนข้างจะทน ต่อสภาพแวดล้อมใหม่ที่เกิดขึ้นไม่ได้ซึ่งเป็นการลดลงอย่างรวดเร็วของปริมาณ ออกซิเจนก็อาจจะทำให้ไดโนเสาร์เสียชีวิตอย่างรวดเร็ว เพราะมันยังไม่สามารถปรับตัวให้เข้ากับบรรยากาศแบบใหม่ได้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น