วันพฤหัสบดีที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2553

ทฤษฎีที่เป็นไปได้ ที่ทำให้ไดโนเสาร์สูญพันธุ์


1. ทฤษฎีอุกกาบาตพุ่งชนโลก ทฤษฎีนี้เป็นทฤษฎีที่มีการอ้างอิงและพูดถึงกันมากทฤษฎีหนึ่ง เมื่อย้อนกลับไปศึกษาถึงช่วงเวลาที่ไดโนเสาร์มีชีวิตอยู่นั้น เราพบว่ามันปรากฏกายอยู่ในหน้าประวัติศาสตร์จนถึงยุคเครตาเชอุสตอนปลาย หลังจากนั้นก็ไร้ร่องรอยไปเฉย ๆ นักวิทยาศาสตร์กลุ่มหนึ่งได้สันนิษฐานข้อมูลเอาไว้ว่า เป็นไปได้หรือไม่ว่าใน ยุคเครตาเชอุสตอนปลายนั้น อาจมีลูกอุกาบาตที่มีความกว้างถึง 3 เมตร จำนวนมากพุ่งเข้ามาชนโลกของเรา ความรุนแรงที่เกิดขึ้น ส่งผลให้เกิดหมอกควันหนาทึบบดบังแสงอาทิตย์ที่ส่องให้ความอบอุ่นแก่โลกเป็นเวลานาน สัตว์เลือดเย็นอย่างไดโนเสาร์ไม่สามารถที่จะปรับอุณหภูมิของตนเองให้อบอุ่นได้เหมือนสัตว์เลือดอุ่น จึงพากันล้มตายและเสียชีวิตเป็นจำนวนมาก

2. ทฤษฎีเรือนกระจก
กลไกที่ทำให้เกิดการเสียชีวิตจากผลกระทบของภาวะเรือนกระจก บุคคลแรกที่นำทฤษฎีการระเบิดของภูเขาไฟและผลกระทบจาก กรีนเฮาส์ (Volcano-greenhouse) มาอธิบายถึงการสูญพันธุ์ของไดโนเสาร์ คือ นายแม็คลีน (McLean) เขาได้ตีพิมพ์บทความที่อธิบายถึงปรากฎการณ์ดังกล่าวในวารสารทางวิทยา ศาสตร์ในหัวข้อ "ทฤษฎีเรือนกระจกจุดจบของยุคเมโสโศอิค : บทเรียนจากอดีต" (A terminal Mesozoic 'greenhouse' : lessons from the past) บทความดังกล่าว ถูกตีพิมพ์ขึ้นครั้งแรกในปี พ.ศ.2521 โดย แม็คลีน ได้อธิบายสิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้นด้วยการ อ้างอิงถึงการระเบิดของภูเขาไฟ (Deccan Traps) เมื่อ 65 ล้านปีก่อน ทำให้ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ถูกปลดปล่อยเข้าสู่ขึ้นบรรยากาศเป็นจำนวนมาก อุณหภูมิของโลกจึง สูงขึ้นอย่างรวดเร็วและกินเวลายาวนาน ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของสิ่งมีชีวิต

3. ทฤษฎีการขาดอากาศ
นักวิทยาศาสตร์กลุ่มหนึ่งได้ตั้งข้อเสนอไว้อย่างสนใจว่า ไดโนเสาร์อาจจะสูญพันธุ์ จากโลกนี้ เพราะการที่ปริมาณของออกซิเจนบนโลกใบนี้ลดน้อยลงไปอย่างรวดเร็ว ศาสตราจารย์ เคท ริคบี้ (Keith Rigby) ได้นำเสนอทฤษฎีข้อสันนิษฐาน เพเล (Pele hypothesis) ริคบี้ เชื่อว่า การที่ปริมาณออกซิเจนลดลงอย่างรวดเร็วนั้นเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นร่วมกับการที่อุณหภูมิของโลกเกิดการเปลี่ยนแปลง ส่งผลให้ไดโนเสาร์จำนวนมากเสียชีวิตอย่างรวดเร็ว เหตุผลที่ทำให้นักวิทยาศาสตร์กลุ่มนี้เชื่อว่า ไดโนเสาร์เสียชีวิตจากการขาดอากาศ หายใจนั้นเกิดขึ้นเพราะพวกเขามองว่า ในช่วงที่เหลือกโลกของเราเกิดการเปลี่ยนแปลงนั้น ในระหว่างที่มีการยกตัวของเปลือกโลกบางส่วนขึ้นมาจากพื้นน้ำใต้ท้องทะเลกลายมาเป็นทวีป ต่าง ๆ นั้นจะส่งผลให้เกิดการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกมาเป็นจำนวนมาก ซึ่งก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เหล่านี้จะถูกพืชนำไปใช้ในการสังเคราะห์อาหาร และปลดปล่อยก๊าซ ออกซิเจนออกมาเป็นจำนวนมาก บรรยากาศของโลกในยุคนั้นจึงเต็มไปด้วยอากาศบริสุทธิ์ เหมาะสำหรับการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิตเป็นอย่างยิ่ง ดังนั้น เมื่อปริมาณออกซิเจนที่เคยมีมากมายมหาศาลเกิดการลดปริมาณลงอย่างรวดเร็วทำให้ไดโนเสาร์ปรับตัวไม่ทันจึงค่อนข้างจะทน ต่อสภาพแวดล้อมใหม่ที่เกิดขึ้นไม่ได้ซึ่งเป็นการลดลงอย่างรวดเร็วของปริมาณ ออกซิเจนก็อาจจะทำให้ไดโนเสาร์เสียชีวิตอย่างรวดเร็ว เพราะมันยังไม่สามารถปรับตัวให้เข้ากับบรรยากาศแบบใหม่ได้

ทำไมไดโนเสาร์ถึงสูญพันธุ์


ทำไมไดโนเสาร์ถึงสูญพันธุ์ ?
เรื่องราวเกี่ยวกับไดโนเสาร์ยังคงเป็นเรื่องที่สร้างความพิศวงและแปลกใจให้ กับ พวกเราทุกคนไม่รู้หาย เหตุใดเจ้าสัตว์ร่างใหญ่เหล่านี้จึงสูญหายไปจากหน้าประวัติศาสตร์ของโลก อย่างรวดเร็วและไร้ร่องรอย นักวิทยาศาสตร์หลายกลุ่มต่างก็ออกมาเสนอทฤษฎีเกี่ยวกับการสูญพันธุ์ของ ไดโนเสาร์มากมาย แต่ปัญหาก็คือ ทฤษฎีแต่ละทฤษฎีต่างก็ยังคงมีจุดอ่อนของตนเอง ทำให้ไม่สามารถชี้ชัดเจนลงไปได้ว่าไดโนเสาร์สูญพันธุ์ไปได้อย่างไร ลองมาดูกันว่า ทฤษฎีเกี่ยวกับการสูญพันธุ์ของไดโนเสาร์ทฤษฎีไหนจะมีน้ำหนักน่าเชื่อถือมากกว่ากันจะขอกล่าวในทฤษฎีที่สำคัญครับ
ทฤษฎีทั้ง 12 ทฤษฎีมีดังต่อไปนี้
1. "ทฤษฎีอุกกาบาตพุ่งชนโลก"

2. "ทฤษฎีภูเขาไฟระเบิด"

3. "ทฤษฎีบันได เด็คแคน"

4. "ทฤษฎีเรือนกระจก"

5. "ทฤษฎีฝุ่นดาว"

6. "ทฤษฎีการขาดอากาศ"

7. "ทฤษฎีโรคภัยไข้เจ็บ"

8. "ทฤษฎีสัตว์เลือดอุ่นนักล่ากลุ่มใหม่"
9. "ทฤษฎีรังสีคอสมิคจากการระเบิดของซุปเปอร์โนวา"
10. "ทฤษฎีวงโคจรของโลกเกิดการเปลี่ยน"
11. "ทฤษฎีการเปลี่ยนขั้วของแม่เหล็กโลก"

12. "ทฤษฎีน้ำล้นออกจากมหาสมุทรอาร์คติก"

กินรีไมมัส


กินรีไมมัส ( Ginnareemimus )
ออร์นิโธไมโมซอร์ Ornithomimosaur (ไดโนเสาร์นกกระจอกเทศ ) อีกชนิดที่พบในชั้นหินหมวดเสาขัว
(Sao Khua Formation) จากขอนแก่น อยู่ในระหว่างการค้นคว้า และศึกษาเพิ่มเติม หากได้ข้อมูลแน่ชัด และเป็นที่ยอมรับกันทั่วโลก ก็คงได้ไดโนเสาร์ไทย ชนิดใหม่ของโลก พบกระดูกขาหน้าท่อนบนและขาหลังท่อนล่าง เดินด้วย 2 ขาหลัง คอค่อนข้างยาว หางยาว ปากยาวแหลม กินสัตว์ขนาดเล็กเป็นอาหาร เช่น แมลง กิ้งก่า ใช้ชื่อ(อย่างไม่เป็นทางการ)ว่า กินนรีไมมัส Ginnareemimus มีอายุในช่วง 120-130 ล้านปี

ซิทตะโกซอรัส สัตยารักษ์กิ


ซิทตะโคซอรัส (Psittacosaurus) ไดโนเสาร์ซิทตะโคซอรัสหรือไดโนเสาร์นกแก้ว มีชีวิตอยู่ในยุคครีเตเชียสตอนต้น พบได้ในทวีปเอเชียและทวีปยุโรป เป็นสัตว์กินพืช 2 เท้าที่มีขนาดเล็ก เพราะมีความยาวลำตัวเพียง 2 เมตร กะโหลกศีรษะแคบ กระดูกแก้มมีลักษณะคล้ายเขา ตาและรูจมูกอยู่ค่อนข้างสูง จะงอยปากมีลักษณะงองุ้มคล้ายปากของนกแก้ว จึงทำให้มันได้ชื่อว่า "ไดโนเสาร์นกแก้ว" หน้าตาของมันไม่ค่อยดุร้ายเหมือนไดโนเสาร์ตัวอื่น ๆ ในตระกูลเดียวกัน และได้ตั้งชื่อเพื่อเป็นเกียรติแก่ นายนเรศ สัตยารักษ์ ผู้ค้นพบว่า ซิตตาโคซอรัส สัตยารักษ์คิ (Psittacosaurus sattayaraki)

คอมพ์ซอกนาธัส


คอมพ์ซอกนาธัส ( compsognathus ) ไดโนเสาร์ขนาดเล็กตัวเท่าไก่ คอมพ์ซอกนาธัส เป็นไดโนเสาร์ลักษณะคล้ายนก หัวของคอมพ์ซอกนาธัสมีขนาดเล็ก คอ ขา และหางยาว ส่วนแขนสั้นมีมือข้างละ 3 นิ้ว มีเล็บแหลมโค้ง มีฟันแหลมคมเอาไว้กัดกินอาหารซึ่งน่าจะเป็นแมลงหรือสัตว์เลื้อยคลานตัวเล็ก ๆ ประมาณกันว่าคอมพ์ซอกนาธัสมีขนาด ลำตัวยาวประมาณ 2 ฟุต และมีน้ำหนักเพียง 3 กิโลกรัมเท่านั้นเอง ไดโนเสาร์คอมพ์ซอกนาธัสนี้ มีชีวิตอยู่ในช่วงจูแรสสิกตอนปลาย พบในแถบทิศตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศเยอรมัน และตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศฝรั่งเศษรวมทั้ง ในประเทศไทยของเราด้วย ในประเทศไทยได้พบกระดูกชิ้นเล็ก ๆ 2 ชิ้น มีรูกลวงตรงกลางคล้ายกระดูกนกหรือกระดูกไก่ รวมอยู่กับกลุ่มไดโนเสาร์อื่น ที่ภูประตูตีหมา อ.ภูเวียง จังหวัดขอนแก่น

สยามโมซอรัส สุธีธรนิ


สยามโมซอรัส สุธีธรนิ ( Siamosaurus teethorni ) เป็นไดโนเสาร์เทอร์โรพอด ซึ่งพบซากฟันโดย คุณวราวุธ สุธีธร ผู้เชี่ยวชาญการค้นหาไดโนเสาร์ในเมืองไทย จัดว่าเป็นไดโนเสาร์สกุลใหม่และชนิดใหม่ ชื่อสกุล หมายถึง สัตว์เลื้อยคลานจากสยาม ชื่อชนิดจากชื่อ คุณวราวุธ สุธีธร ผู้ค้นพบที่ อ.ภูเวียง จ.ขอนแก่น ไซแอมโมซอรัส เป็นไดโนเสาร์กินเนื้อที่มีขนาดเล็ก ปราดเปรียวว่องไว มีฟันที่แหลมคมมีชีวิตอยู่เมื่อ 150 ล้านปี

สยามโมไทรันนัส อิสานเอนซิส

สยามโมไทรันนัส อิสานเอนซิส (Siamotyrannus isanensis)
ซากดึกดำบรรพ์สยามโมไทรันนัส ถูกค้นพบที่บริเวณหินลาดยาว อำเภอภูเวียง จังหวัดขอนแก่น เมื่อเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2536 โดยพบกระดูกสันหลังหลายชิ้นโผล่ออกมาจากชั้นดินทรายสีแดงของหินหมวดเสาขัว ต่อมาพบกระดูกสะโพกด้านซ้าย และกระดูกส่วนหางอีกหลายชิ้นเรียงต่อกัน หลังจากที่คณะสำรวจไทย-ฝรั่งเศสได้ทำการศึกษาอย่างละเอียดแล้วก็พบว่า เป็นไดโนเสาร์ตระกูลใหม่ของไทย จึงได้ตั้งชื่อว่า สยามโมไทรันนัส อิสานเอนซิส (Siamotyrannus isanensis)

วันพุธที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2553

ภูเวียงโกซอรัส สิรินธรเน



ภูเวียงโกซอรัส สิรินธรเน (Phuwiangosauraus sirindhornae)
ซากดึกดำบรรพ์ภูเวียงโกซอรัส ถูกค้นพบที่บริเวณประตูตีหมา อำเภอภูเวียง จังหวัดขอนแก่น ประกอบด้วยกระดูกสันหลังส่วนคอ 3 ชิ้น กระดูกสันหลังส่วนกลางตัว 4 ชิ้น กระดูกซี่โครงหลายชิ้นกระดูกสะบักซ้ายและส่วนปลายสะบักขวา กระดูกต้นขาหน้าซ้าย บางส่วนของกระดูกแขน กระดูกสะโพกทั้งสองข้าง กระดูกต้นขาทั้งสองข้าง และกระดูกหน้าแข้งซ้าย ลักษณะของกระดูกที่พบบอกได้ว่าเป็นไดโนเสาร์ซอโรพอดขนาดใหญ่ มีขนาดใกล้เคียงกับคัมมาราซอรัส ที่ถูกค้นพบในทวีปอเมริกาเหนือ แต่ไม่เหมือนกันทีเดียวจึงอัญเชิญพระนามาภิไธย สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี มาตั้งเป็นชื่อใหม่ว่า ภูเวียงโกซอรัส สิรินธรเน (Phuwiangosauraus sirindhornae)

วันอังคารที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2553

ไดโนเสาร์


ไดโนเสาร์ (Dinosaur) เป็นชื่อเรียกโดยรวมของสัตว์ดึกดำบรรพ์ในอันดับใหญ่ Dinosauria ซึ่งเคยครองระบบนิเวศน์บนพื้นพิภพในมหายุคมีโซโซอิกเป็นเวลานานถึง 165 ล้านปีก่อนจะสูญพันธุ์ไป เมื่อ 65 ล้านปีที่แล้ว คนส่วนใหญ่เข้าใจว่าไดโนเสาร์เป็นสัตว์เลื้อยคลาน แต่อันที่จริงไดโนเสาร์เป็นสัตว์ในอันดับหนึ่งที่มีลักษณะก้ำกึ่งระหว่างสัตว์เลื้อยคลานและนก คำว่าไดโนเสาร์ในภาษาอังกฤษ dinosaur ถูกตั้งขึ้นโดย เซอร์ ริชาร์ด โอเวน นักบรรพชีวินวิทยาชาวอังกฤษ ซึ่งเป็นการผสมของคำในภาษากรีกสองคำ คือคำว่า deinos (ใหญ่จนน่าสะพรึงกลัว)และคำว่า sauros (สัตว์เลื้อยคลาน)